ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


แชร์ให้เพื่อน :

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

การใช้ ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ชนิดต่างๆ
ข้าวโพด (Corn หรือ Maize : Zea mays) เป็นวัตถุดิบอาหารพลังงานอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในสูตรอาหารสุกร และ สัตว์ปีกชนิดต่างๆ ในประเทศไทย (ยกเว้นเป็ด) มาเป็นเวลานาน ข้าวโพด ที่ปลูกและใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยเป็น ชนิดเม็ดแข็ง (dent corn)
• มีโปรตีนโดยเฉลี่ยประมาณ 8% • มีไขมันประมาณ 3% และ • มีเยื่อใยประมาณ 2-2.5%
ข้าวโพด เป็นธัญพืชที่ไม่มีสารพิษ หรือสารขัดขวางโภชนะ แต่อย่างใด ดังนั้น ข้าวโพด จึงมีคุณสมบัติไม่มีขีดจํากัด การใช้ในสูตรอาหาร และสามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ (100%) ในสูตรอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ

แป้งใน ข้าวโพด
แป้งในข้าวโพดเป็นชนิดแป้งแข็ง (hard starch) จึงเป็นแป้งที่ดูดน้ําเข้ามาในโมเลกุลช้า ทําให้การย่อยแป้ง ข้าวโพดในระบบทางเดินอาหารช้าตามไปด้วย ดังนั้นข้าวโพดจําเป็นต้องถูกบดให้มีขนาดชิ้นเล็ก หรือบดให้ละเอียด ก่อนใช้เลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดที่บดละเอียดเป็นอย่างดีจะทําให้ร่างกายสามารถย่อย และใช้ประโยชน์ข้าวโพดได้ดี อีกทั้ง ทําให้ข้าวโพดมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้สูงตามไปด้วย

ไขมันในข้าวโพดเป็นไขมันเหลว และเป็นไขมันไม่อิ่มตัว มีกรดลิโนเลอิคซึ่งเป็นกรดไขมันจําเป็นในอาหารเป็นองค์ ประกอบ 50% นอกจากนี้ข้าวโพดยังมีสารแซนโทฟิลล์ (xanthophylls) ได้แก่ สารชีแซนดิน (Zeasanthin) และสารลูเตอิน (lutein) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยก่อให้เกิดสีเหลือง-เหลืองส้มในไข่แดง และทําให้เกิดสีเหลืองที่ผิวหนัง และแข้งของไก่กระทงในปริมาณสูง ข้าวโพดจึงถูกใช้เป็นวัตถุดิบอาหารพลังงานหลักในสูตรอาหารไก่ ทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ รวมทั้งอาหารนกกระทาไข่

คุณค่าทางอาหารของข้าวโพด
อย่างไรก็ตามข้าวโพดก็ถือว่าเป็นวัตถุดิบอาหารที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดี และข้าวโพดในเขตร้อนชื้นมักจะ ประสบปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษเชื้อรา ได้แก่ สารพิษอะฟลาทอกซิน สารพิษซีราลีโนน สารพิษโวมิทอกซิน ฯลฯ อยู่เสมอ ซึ่งสารพิษเชื้อราเหล่านี้มีผลทําให้สัตว์มีการเจริญเติบโต และมีประสิทธิภาพของการใช้อาหารด้อยลง ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ด้อยลงด้วย แม่สุกรแท้งลูกขณะอุ้มท้อง การให้ผลผลิตของสัตว์ เช่น ไข่ และนม ลดลง อีก ทั้งยังมีผลโดยตรงต่อสุขภาพ และการสร้างภูมิต้านทานโรคของสัตว์ด้วย

ข้าวโพดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์จึงควรมีความชื้นไม่เกิน 13-14% และที่สําคัญ คือ ต้องไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา หรือสารพิษของเชื้อราต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อตัวสัตว์ ซึ่งข้าวโพดดังกล่าวจะมีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับปลาย ข้าว หรือใกล้เคียงกับวัตถุดิบอาหารพลังงานชนิดอื่นๆ
ข้าวโพดยังใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ พลังงานทดแทนปลายข้าว
ข้าวโพดถือว่าเป็นวัตถุดิบอาหารพลังงานที่ใช้เลี้ยงสัตว์ปีกชนิดต่างๆ มาเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ข้าวโพดยังใช้ เป็นวัตถุดิบอาหารพลังงานทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารสุกรระยะรุ่น-ขุน และพ่อแม่พันธุ์ ในระยะกว่า 20 ปีที่ผ่าน มา การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารสุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ กับวัตถุดิบอาหารพลังงานชนิดอื่น
จะเห็นได้ว่าข้าวโพดสามารถใช้เป็นวัตถุดิบอาหารพลังงานหลักในอาหารสัตว์ทุกชนิด นอกจากนี้ข้าวโพดยังใช้เป็น วัตถุดิบอาหารพลังงานหลักในอาหารไก่เนื้อ ไก่ไข่ และนกกระทา ทั้งนี้เพราะข้าวโพดเป็นแหล่งให้กรดไขมันลิโนเลอิค และเป็นแหล่งให้สารสีกับสัตว์ปีกดังกล่าว

การใช้ข้าวโพดในสูตรอาหารเป็ดชนิดต่างๆ ยังมีน้อยมาก หรือไม่มีเลย ทั้งนี้มิใช่ว่าตัวข้าวโพดเองไม่สามารถใช้เป็น วัตถุดิบอาหารแก่สัตว์เหล่านี้ได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ในประเทศไทยมักมีการปนเปื้อนของสาร พิษเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อตัวเป็ดมาด้วยเสมอ อีกทั้งเป็ดเป็นสัตว์ที่มีความไวต่อสารพิษอะฟลาทอกซินในอาหารมาก
ดังนั้นผู้เลี้ยงเป็ดจึงมักหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดในสูตรอาหารเป็ด เนื่องจากผู้เลี้ยงเป็ดอาจไม่สามารถจัดซื้อข้าวโพด คุณภาพดีที่ปลอดจากสารพิษเชื้อราได้ตลอดเวลานั่นเอง อย่างไรก็ตามมีการศึกษาทดลองในระดับฟาร์มของเกษตรกร (ข้อมูลไม่ได้ตีพิมพ์) พบว่าเป็ดไข่ที่กินอาหารที่มีการใช้ข้าวโพดที่มีคุณภาพดีเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ข้าวโพดที่ผ่าน การอบแห้งทันทีหลังการเก็บเกี่ยว มีความสะอาดสูง และไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซิน นอกจากเป็ดไม่ ตายแล้ว ตัวเป็ดยังสามารถให้เปอร์เซ็นต์การไข่ดีมาก ไข่ฟองโต รวมทั้งมีอายุการไข่ยาวนานด้วย

ข้าวโพดมีกรดไขมันจําเป็นในอาหาร
ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดมีกรดไขมันจําเป็นในอาหาร ได้แก่ กรดลิโนเลอิคสูง ซึ่งเป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีความต้องการกรด ไขมันดังกล่าวเช่นเดียวกับสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ จึงทําให้ข้าวโพดคุณภาพดีที่ปลอดการปนเปื้อนสารพิษเชื้อรา เป็น วัตถุดิบอาหารที่มีความเหมาะสมในการใช้เป็นอาหารเป็ดเช่นกัน

ข้าวโพดเม็ดเลี้ยงสัตว์

ข้าวโพดเม็ดเลี้ยงสัตว์

ลักษณะของเมล็ดข้าวโพด
ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ควรมีลักษณะเมล็ดสะอาด มีการเจือปนของซังข้าวโพด หรือวัสดุอย่างอื่นน้อย หรือไม่มีเลย ไม่มีมอด แมลง รบกวน และไม่มีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง ที่สําคัญคือ ต้องไม่ขึ้นรา หรือต้องแน่ใจได้ว่ามีการปน เปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินมาน้อยที่สุด หรือมีอยู่ในระดับไม่เกิน 30 ส่วนต่อพันล้าน (พีพีบี) หรือไม่มีเลย ซึ่ง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อาจทําได้ดังนี้ คือ
1.ควรใช้ข้าวโพดอบแห้ง หรือข้าวโพดไซโลที่ผ่านการอบแห้งทันทีหลังการเก็บเกี่ยว ความชื้นของเมล็ดข้าวโพดจะ ถูกลดลงอย่างรวดเร็ว โดยที่เชื้อรายังมิทันเกิด หรือเพิ่มปริมาณ ทําให้ข้าวโพดไซโลมีการปนเปื้อนสารพิษเชื้อราต่ํา และมีความปลอดภัยที่จะนํามาเลี้ยงสัตว์
2.ควรซื้อเมล็ดข้าวโพดมาบดเอง เพราะข้าวโพดเมล็ดสามารถตรวจสอบคุณภาพความสะอาด และสิ่งเจือปนต่างๆ รวมทั้งตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อราได้ง่าย เพียงดูด้วยตาเปล่าเท่านั้นก็เห็นแล้ว ข้าวโพดที่บดมาแล้วจะไม่ สามารถตรวจสอบคุณภาพ โดยเฉพาะการปนเปื้อนของเชื้อราได้ด้วยตาเปล่า จึงมีความเสี่ยงในการใช้เป็นอาหาร สัตว์มาก การที่เกษตรกรบดอาหารเองยังสามารถบดข้าวโพดได้ละเอียดตามความต้องการ ซึ่งช่วยทําให้การย่อยได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น

ข้าวโพดบดเลี้ยงสัตว์

ข้าวโพดบดเลี้ยงสัตว์

3.การบดข้าวโพดเอง ยังสามารถทําความสะอาดเมล็ดข้าวโพดได้ โดยการฝัดเมล็ดข้าวโพดก่อนการบดละเอียด ซึ่ง เป็นวิธีการที่สามารถลดปริมาณสารพิษเชื้อราที่ปนเปื้อนมากับข้าวโพดดีมาก เพราะละอองฝุ่นต่างๆ ที่ปนเปื้อนมากับ เมล็ดข้าวโพด ซึ่งมักเป็นเชื้อรา และสปอร์ของเชื้อรา ที่เป็นแหล่งของสารพิษเชื้อรา จะถูกฝัดหรือเป่าออกไปก่อน จึง ทําให้มีปริมาณการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินลดลงมาก และทําให้เมล็ดข้าวโพดมีความปลอดภัยในการใช้เป็น อาหารสัตว์มากขึ้น
4.หากไม่แน่ใจในความสะอาด และคุณภาพของข้าวโพดที่ซื้อมา หรือเมื่อใช้ข้าวโพดในสูตรอาหารแล้ว สัตว์มีการ เจ็บป่วยบ่อยหรือมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าอาหารนั้นมีสารพิษเชื้อราต่างๆ ปนเปื้อนมา ในกรณีนี้อาจแก้ ปัญหาดังกล่าว โดยการใช้สารดูดซับสารพิษเชื้อราในอาหาร ได้แก่ สารพวก HSCAS (hydrated sodium calcium aluminosilicate) หรือสารซีโอไลท์ (zeolites) หรือสารเบนโทไนท์ (bentonite) ที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยใช้ในระดับ 1-1.5% ในอาหาร เพราะสารเหล่านี้มีสารอะลูมินาออกไซด์ และซิลิกาออกไซด์ เป็นองค์ประกอบ หลัก และมีความสามารถในการดูดซับสารพิษเชื้อราในระบบทางเดินอาหารได้ดี การเสริมสารเหล่านี้ในอาหารที่มี การปนเปื้อนของสารพิษเชื้อราจะช่วยลดการเป็นพิษของสารพิษเชื้อราได้ และช่วยทําให้สัตว์มีสุขภาพดี แข็งแรง และ มีการเจ็บป่วยลดลง
หากเกษตรกรมีความจําเป็นต้องกักตุน หรือเก็บข้าวโพด ไว้ใช้เป็นระยะเวลานาน ควรเก็บข้าวโพดที่มีความชื้นไม่เกิน 14 % หรือที่ความชื้นต่ํากว่านี้ยิ่งดี หากความชื้นเมล็ดข้าวโพดสูงกว่านี้ต้องอบแห้ง หรือตากแห้ง เมล็ดข้าวโพดที่มี ความชื้นต่ําลง ก่อนทําการเก็บข้าวโพดนั้น หรืออาจต้องคลุกเมล็ดข้าวโพดดังกล่าวกับสารกันราก่อน ซึ่งจะทําการเก็บ หรือตุนข้าวโพดไว้เป็นระยะเวลานานได้
ข้าวโพดคุณภาพดีสามารถใช้เป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้ดี ทั้งในอาหารสุกร และอาหารสัตว์ปีก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ นกกระทาไข่ ฯลฯ ทุกระยะ อย่างไรก็ตามในเชิงปฏิบัติ ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย โดยเฉพาะข้าวโพดที่ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สามารถหาซื้อได้ทั่วไป มักมีการปนเปื้อนของสารพิษเชื้อราอยู่เสมอ เพิ่มความปลอดภัย จึงไม่ แนะนําให้ใช้ข้าวโพดในอาหารสุกรอุ้มท้อง และแม่สุกรเลี้ยงลูก เพราะสารพิษเชื้อรา
โดยเฉพาะสารพิษชีราลีโนนจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ นอกจากนี้ยังไม่แนะนําให้ใช้ข้าวโพดใน สูตรอาหารลูกสุกรหย่านม เพราะแป้งในข้าวโพดเป็นแป้งแข็ง ลูกสุกรไม่สามารถย่อยได้ดี ยกเว้นจะทําให้ข้าวโพดสุก ก่อน เช่น การทําเป็นข้าวโพดอบไอน้ํา หรือเป็นข้าวโพดเอ็กซ์ทรูดก่อน การใช้ข้าวโพดในอาหารสุกรอาจมีผลทําให้ ไขมันในตัวสุกรมีสีออกเหลือง
ทั้งนี้เนื่องจากมีการสะสมสารสี หรือสารแซนโทฟิลล์ ที่มีในข้าวโพดในไขมันในตัวสุกรนั่นเอง การใช้ข้าวโพดใน อาหารเป็ดจะต้องกระทําด้วยความระมัดระวัง และต้องแน่ใจว่าข้าวโพดมีคุณภาพดีจริงๆ ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา ถ้าไม่มั่นใจว่าข้าวโพดนั้นมีคุณภาพดีพอ ก็ไม่ควรใช้ข้าวโพดในอาหารเป็ดเป็นอันขาด เนื่องจากเป็ดมีความไวต่อสา รพิษอะฟลาทอกซินในอาหารสูง ควรใช้วัตถุดิบอาหารทดแทนชนิดอื่นที่มีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาทอกซิน เช่น ปลายข้าว ข้าวฟ่าง หรือมันสําปะหลัง จะปลอดภัยกว่า
การใช้ข้าวโพดในสูตรอาหารสัตว์จําเป็นต้องมีการบดละเอียด ก่อน
การใช้ข้าวโพดในสูตรอาหารสัตว์จําเป็นต้องมีการบดละเอียดก่อน เพื่อเพิ่มการย่อยได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของ ข้าวโพด โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงยุคใหม่ ทั้งสุกร และสัตว์ปีก ได้มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้มีการให้ผลผลิตมาก ประสิทธิภาพการย่อยอาหารของสัตว์เหล่านี้มักลดต่ำลง ยิ่งทําให้สัตว์เหล่านี้ต้องการข้าวโพดมีการบดละเอียดขึ้น เพื่อทําให้การย่อยและการใช้ประโยชน์ได้ของข้าวโพดเป็นไปอย่างเต็มที่
จากการปฏิบัติในภาคสนามพบว่าข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสุกรรุ่น-ขุน และใช้เลี้ยงไก่เนื้อ ควรบดละเอียดด้วยตะแกรงบด ขนาดรูตะแกรง 2 มิลลิเมตร ซึ่งจะให้ข้าวโพดบดมีขนาดชิ้นประมาณ 500 ไมครอน ในขณะที่ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงไก่ ไข่ และสุกรพ่อแม่พันธุ์ ควรบดด้วยตะแกรง ขนาดรูตะแกรง 3-4 มิลลิเมตร ซึ่งจะให้ขนาดชิ้นของข้าวโพดบด ประมาณ 700 ไมครอน ซึ่งให้ผลการเลี้ยงเป็นที่น่าพอใจ
ขอขอบคุณข้อมูลแหล่งที่มา: อาหารสุกรและสัตว์ปีกเชิงประยุกต์

โดย รองศาสตราจารย์อุทัย คันโธ

แชร์ให้เพื่อน :