ใบกระถินสับ/ ใบกระถินป่น/ ใบกระถินอัดเม็ด
- โปรตีน เกรด 10-14% และ 14-18%
- ความชื้นไม่เกิน 14%
โปรตีนสูง เหมาะกับใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุดิบอาหารสัตว์
กระถินสับ คือ วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ทำมาจากยอดอ่อน ใบ และต้นของกระถิน นำมาทำอาหารสัตว์ โดยเก็บยอด ต้น และใบกระถินมาสับแล้วนำไปตากแห้งเพื่อนำไปทำเป็นวุตถุดิบอาหารสตัว์เลี้ยง หมู วัว ไก่ เป็ด เป็นต้น
การตากแห้งกระถิน ช่วยลดสารเคมีที่เป็นพิษบางอย่างในใบกระถินลง และช่วยให้ขนส่งและจัดเก็บง่าย นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้ง่าย
ใบกระถินบด ละเอียด คือ การนำใบกระถิน ยอด หรือต้นมาสับและบดให้ละเอียด และตากแห้งเพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ และนำไปผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆได้ง่ายมากขึ้น
กระถินอัดเม็ด เป็นการนำกระถินบด สับ มาอัดเป็นเม็ดสำเร็จรูป ตามขนาดที่ต้องการ นำไปใช้เลี้ยงสัวต์เช่น หมู วัว ไก่ ต่อไป มีคุณค่าทางอาหารที่เพียงพอต่อสัตว์เลี้ยง
ข้อดีของกระถินอัดเม็ด
- ใช้งานง่าย สามารถนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้ง่าย สัตว์กินง่าย สะดวก
- ขนส่งง่าย จัดส่งได้ง่าย สะดวก บรรจุในกระสอบ
- จัดเก็บง่าย จัดเก็บในกระสอบ ง่ายต่อการจัดเก็บ
ใบกระถิน (leucaena leaf meal)
ใบกระถินแห้งมีโปรตีน 14 – 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับการมีก้านหรือกิ่งปะปน เยื่อใย มีประมาณ 16 – 25 เปอร์เซ็นต์ แต่มีแคลเซียมมาก และมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินเอและสารแซนโทฟิลล์ทำให้สีไข่แดงและสีผิวหนังตลอดจนแข้งไก่มีสีเข้มขึ้น แต่สารเหล่านี้สูญเสียได้ง่ายในระหว่างการผึ่งแดด ถ้าตากเป็นเวลานานจะทำให้สูญเสียมากขึ้น ในระหว่างฤดูฝนอาจเกิดการอับชื้น และขึ้นราง่าย สารพิษมิโมซีน (mimosine) และแทนนิน (tannins) ในใบกระถิน ทำให้สัตว์ขนร่วง และการเจริญเติบโตลดลงถ้าใช้ในปริมาณมาก อาจเกิดจากคุณสมบัติที่เป็น สารฟีนอลลิก หรืออัลคาลอยด์ หรือเกิดปฏิกิริยาห้ามกระบวนการเมแทบอลิซึมของกรดอะมิโนแฟนิลอะลานีนและไทโรซีน หรือการทำงานของเอนไซม์ที่มีโลหะอยู่ในองค์ประกอบ โดยทั่วไปในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น สัตว์ปีกควรใช้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ สุกรไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ (Lopez, 1989) แต่ถ้าใช้ใบกระถินที่ผลิตจากใบกระถินยักษ์สามารถใช้ได้ถึง 8 เปอร์เซ็นต์ หรือ ถ้าขจัดสารพิษด้วยการเติมเหล็กซัลเฟต หรือแช่น้ำ 12 – 24 ชั่วโมง ก่อนทำให้แห้งจะทำให้ใช้ได้สูงขึ้นถึง 15 – 25 เปอร์เซ็นต์
กระถินเป็นพืชที่นิยมทำเป็นอาหารสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากในปัจจุบัน อาหารสัตว์นั้นมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้วัตถุดิบต่างๆนั้น มีราคาสูงขึ้นตามมา ดังนั้นการลดต้นทุนและเลือกใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน จึงจำเป็นมาก กระถินจึงเป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยม เนื่องด้วยราคาที่ไม่แพงนั่นเอง
กระถิน (Leucaena leucocephala) เป็นพืช ตระกูลถั่วที่มีลักษณะยืนต้น ทนแล้ง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
การใช้กระถินเลี้ยงสัตว์
การใช้กระถินเลี้ยงสัตวนั้น เลี้ยงสัตว์ได้หลายชนิด
• โคเนื้อ โคนม ตัดสดนั่นให้ละเอียดใช้เลี้ยงร่วมกับหญ้า ฟางข้าว หรือผลพลอยได้ทางการเกษตร
• แพะ ตัดสดสามารถใช้เลี้ยงได้เต็มที่
ในปัจจุบันมีกระถินป่น แห้งที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้ง่ายต่อการใช้เลี้ยงสัตว์มากขึ้น
การปลูก
การปลูกกระถินนั้นทำได้ไม่ยาก และสามารถปลูกได้ตลอด
ก่อนปลูกแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ํา 1 คืน ปลูกโดยโรยเมล็ด เป็นแถว ระยะห่าง 50 ซม. ใช้เมล็ดพันธุ์ 2 กก/ไร่ ไม่จำเป็นต้งรดน้ำมากนัก เพราะกระถินเป็นพืชที่ทนแล้ง นั่นเอง
การใช้ใบกระถินประกอบสูตรอาหารสัตว์
กระถินสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้หลายอย่างและสามารถใช้ในอัตราส่วนต่างๆ ดังนี้
• โคเนื้อ โคนม ใช้ได้ไม่เกิน 30 %
• สุกรเล็ก ใช้ได้ไม่เกิน 5 % สุกรรุ่น-ขุน และพ่อแม่พันธุ์ ใช้ได้ไม่เกิน 15 %
• ไก่เนื้อ (อายุ 4-8 สัปดาห์) และไก่กําลังไข่ใช้ได้ไม่เกิน 5%
การใส่ปุ๋ยให้กับกระถินป่น
ใส่ปุ๋ย 12 – 24 – 12
อัตรา 20 – 50 กก./ไร่/ปี
การถนอมกระถินไว้สําหรับเลี้ยงสัตว์
• กระถินแห้ง ตัดกระถิ่นอายุ 3 เดือนนั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 1-2 เซนติเมตร นําไปฝั่งแดดลดความชื้น 2-3 วัน เกลี่ยกลับสม่ำเสมอให้แห้ง
• กระถินหมักร่วมกับมันสําปะหลังสด ตัดกระถิ่นอายุ 3 เดือน นั่นให้มีขนาด 1-2 เซนติเมตร หมักร่วมกันใน สัดส่วน กระถิน : มันสด 5 : 1 บรรจุในภาชนะ
อัดให้ แน่น ปิดฝาให้สนิท
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
• ตัดเมื่ออายุประมาณ 4 เดือน
• ผลผลิตน้ําหนักแห้งประมาณ 4 – 6 ตัน/ไร่/ปี
• ใบกระถินรวมกิ่งก้านและลําต้นมีโปรตีน 17-19 %
กระถินป่น กระถินบด กระถินอาหารสัตว์
กระถินป่น
เป็นวัตถุดิบอาหารที่เกษตรกรนิยมใช้มากชนิดหนึ่ง เพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายแล้วเกษตรกรยังสามารถ ผลิตได้เองอีกด้วย คุณภาพของใบกระถินป่นที่มีขายในท้องตลาด จะมีค่าของโปรตีนแตกต่างกันมากตั้งแต่ 14-30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีส่วนของก้านใบและกิ่งปะปนมากน้อยแค่ไหน
คุณสมบัติ
ใบกระถินล้วนๆ แห้งป่นมีโปรตีนสูง ประมาณ 20-24 เปอร์เซ็นต์
มีเยื่อใยสูง
มีสารพิษที่เรียกว่าไมโมซีน
มีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งของไวตามินเอ และสารแซนโทฟิลล์ ซึ่งเป็นสารให้สีสำหรับไข่แดงและเนื้อสัตว์
ข้อจำกัดในการใช้
เยื่อใยสูง ทำให้ใช้ผสมในสูตรอาหารสัตว์ได้ในระดับต่ำ
มีสารพิษไมโมซีน ที่เป็นพิษต่อสัตว์ ถ้าใช้ในระดับสูงจะทำให้สัตว์โตช้า ขนร่วงและความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ
ให้พลังงานต่ำ จะต้องใช้ร่วมกับวัตถุดิบที่ให้พลังงานสูง
ข้อแนะนำในการใช้
- ไม่ควรใช้ใบกระถินสดเลี้ยงสุกร และสัตว์ปีก ควรนำไปผ่านกรรมวิธีลดสารพิษก่อน
- ควรใช้ใบกระถินยักษ์ เพราะมีสารพิษไมโมซีนต่ำกว่าใบกระถินพื้นเมือง ทำให้ใช้ได้ในระดับสูงกว่า ใบกระถินพื้นเมือง
- ใบกระถินแห้งหรือผึ่งแดดจะช่วยลดปริมาณสารพิษลงได้
- ใบกระถินแช่น้ำนาน 24 ชั่วโมง และผึ่งแดดให้แห้งช่วยลดปริมาณสารพิษได้ดีและสามารถ ใช้ในสูตรอาหารได้ในระดับสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในสัตว์ระยะรุ่น-ขุน
- ควรเลือกใช้ใบกระถินแห้งป่นที่มีสีเขียวและมีก้านใบปนน้อยที่สุด ในการประกอบสูตรอาหาร
- โดยทั่วไปไม่ควรใช้ใบกระถินป่นในสูตรอาหารสัตว์เล็ก และไม่ควรใช้ในระดับเกิน 4-5 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกและจะต้องระวังในการปรับระดับพลังงานในสูตรอาหาร ให้เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ด้วย
ส่วนประกอบทางเคมี
ส่วนประกอบ(%) | |
---|---|
ความชื้น | 10 |
โปรตีน | 20.2 |
ไขมัน | 3.5 |
เยื่อใย | 18 |
เถ้า | 8.8 |
แคลเซียม | 0.54 |
พลังงานใช้ประโยชน์ได้(กิโลแคลอรี่/กก.) | |
---|---|
ในสุกร | 1300 |
ในสัตว์ปีก | 900 |
กรดอะมิโน (%) | |
---|---|
ไลซีน | 1.10 |
เมทไธโอนีน | 0.28 |
เมทไธโอนีน + ซีสตีน | 0.63 |
ทริปโตเฟน | 0.20 |
ทรีโอนีน | 0.80 |
ไอโซลูซีน | 1.73 |
อาร์จินีน | 0.95 |
ลูซีน | 1.50 |
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน | 1.80 |
ฮิสติดีน | 0.40 |
เวลีน | 1.10 |
ไกลซีน | 0.53 |